การรักษาอาการท้องเสีย

5 แนวทางใน การรักษาอาการท้องเสีย แบบเบื้องต้นในการดูแลตัวเอง

      การรักษาอาการท้องเสีย อาการ “ท้องเสีย” เป็นการที่ร่างกายนั้นขับถ่ายออกมาอุจาระจะเหลวหรือบางครั้งถ่ายอุจาระออกมาเป็นน้ำเลย ซึ่งสาเหตุจะเกิดจากการผู้ที่ป่วยนั้นดื่มน้ำที่ไม่สะอาด มีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ เช่น ปรสิต แบคทีเรีย และเชื้อไวรัสต่าง ๆ ที่มีผลต่อระบบขับถ่าย แต่บางคนก็เกิดจากการทานยาในบางประเภท ซึ่งเป็นสิ่งที่จะเกิดก็ไม่สามารถเลี่ยงได้ ดังนั้นถ้าเกิดอาการท้อเสียจะทำอย่างไร…? ในบทความนี้มีคำตอบให้ 5 แนวทาง การรักษาอาการท้องเสีย ที่คุณสามารถทำเองได้แบบง่าย ๆ ปรับเปลี่ยนที่อาหาร เพราะเป็นปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียนั้นมาจากการทานอาหาร ซึ่งในส่วนนี้ผู้ป่วยต้องทานอาหารที่ปรุงให้สุก ไม่ทานกึ่งสุกกึ่งดิบ…

พฤติกรรมกินแล้วนอน

4 อันตรายจาก พฤติกรรมกินแล้วนอน ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราอย่างไรมาดูกัน

คนที่มี พฤติกรรมกินแล้วนอน คงเคยได้ยินคำบ่นจากคุณแม่ว่า ‘อย่าเพิ่งนอนสิ!! กินเพิ่งเสร็จแท้ ๆ จะรีบนอนไปไหน!?’ อยู่บ่อยๆ เพราะกระบวนการย่อยของเราเริ่มต้นตั้งแต่อาหารเข้าปากซึ่งเป็นการย่อยคาร์โบไฮเดรตโดยน้ำลาย เมื่อกลืนเข้าไปโปรตีนก็จะถูกย่อยที่กระเพาะอาหาร จากนั้นอาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนจะถูกส่งไปยังลำไส้เล็ก เพื่อย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ยังไม่ถูกย่อยดี โปรตีน และไขมันต่อไป จนท้ายที่สุดเราจะได้กากอาหารที่รอกำจัดไปเก็บไว้ในที่ลำไส้ใหญ่ 4 พฤติกรรมกินแล้วนอน ส่งผลให้เกิดอันตรายมากกว่าที่เราคิด กระบวนการเหล่านี้จะใช้เวลาอยู่ประมาณ 2-4 ชั่วโมง และระบบย่อยอาหารจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดในท่านั่งหรือยืน เพราะอวัยวะทุกส่วนในระบบตั้งตรงตามร่างกายอย่างที่ควรเป็น แต่เมื่อใดก็ตามที่เรากินแล้วนอนเลยหลังจากกินอาหารเสร็จ อวัยวะต่าง…

ติดทานอาหารรสเค็ม

มาเช็กกัน !! 4 พฤติกรรมบอกว่าคุณชอบ ติดทานอาหารรสเค็ม มากเกินไป

ติดทานอาหารรสเค็ม รู้หรือไม่ว่าปกติแล้วร่างกายของเราต้องการโซเดียมเพียง 1 ช้อนชา หรือประมาณ 2,400 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นในวัฒนธรรมการกินบ้านเราก็มีแนวโน้มส่งผลให้เราติดเค็มมากเกินไป ดูได้ง่าย ๆ จากร้านอาหารตามสั่งที่ทุกร้านจะต้องมีพริกน้ำปลาเพื่อให้ปรุงรสในกรณีที่รสอาจกลมกล่อมไม่ถึงใจเราเท่าไร แถมการติดทานอาหารเค็มมากเกินไปยังเป็นสาเหตุโรคร้ายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นโรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรืออัมพฤกษ์อัมพาต และโรคหอบหืดขั้นรุนแรง และหากใครมีปัญหาปวดหัวจากไมเกรนบ่อย ๆ ลองย้อนกลับมาดูการกินสักนิดเพราะการกินเค็มมากไปยังทำให้เป็นไมเกรน เสี่ยงกระดูกพรุน รวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคเพียบจนน่ากลัวขนาดนี้ เราจึงอยากชวนเพื่อน ๆ มาเช็กกันว่าคุณเป็นคนติดเค็มมากเกินไปหรือไม่…

ออฟฟิศซินโดรม

4 พฤติกรรมควรเลี่ยง .. ถ้าอยากห่างไกล ออฟฟิศซินโดรม

โดยเฉลี่ยคนส่วนใหญ่นั่งทำงานติดต่อกันประมาณ 7-8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นในวันที่มีงานเร่งรีบและต้องอยู่ทำโอที ! ออฟฟิศซินโดรม จึงกลายเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตของเหล่าชาวออฟฟิศ แต่ก็ใช่ว่ามีเพียงกลุ่มออฟฟิศเท่านั้นที่มีปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม เพราะหากคุณต้องงานที่ต้องอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับเขยื้อน หรือเคลื่อนไหวร่างกายเช่น ขับรถในระยะทางไกลบ่อย ๆ ก็สามารถมีโอกาสเป็นได้เช่นกัน อาการของโรค ออฟฟิศซินโดรม มักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มที่ทำงานเป็นเวลานาน ๆ ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการความเจ็บปวดที่ก่อให้เกิดความลำบาก และความรำคาญแก่ผู้ที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาการปวดที่แค่ขยับตัวเพียงนิดหน่อยก็แทบร้องโอยออกมา อีกทั้งยังทำให้เสียบุคลิกอีกด้วย และโรคนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ…

โรคกระดูกสันหลัง

4 พฤติกรรมทำร้าย โรคกระดูกสันหลัง โดยที่เราไม่รู้ตัวถึงแม้จะยังไม่แสดงอาการ

โรคกระดูกสันหลัง เป็นกระดูกที่สำคัญที่สุดในร่างกาย หากได้รับอาการบาดเจ็บที่กระดูกชิ้นนี้ก็ยากที่จะไม่ได้รับผลกระทบใหญ่ ๆ และส่วนใหญ่เราไม่ค่อยให้ความสำคัญและใส่ใจกับกระดูกสันหลังมากนัก หากไม่มีอาการปวดหลัง ลามไปจนถึงคอ กว่าจะหันมาดูแลอย่างจริงจังอาจต้องจบด้วยการรักษาตัวด้วยการกินยาหรือผ่าตัด ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบไปเสียทุกอย่างจนเราอาจละเลยเรื่องสุขภาพไป โดยพฤติกรรมที่เราไม่รู้ตัวว่ากำลังทำร้ายกระดูกสันหลังอยู่ เราจึงอยากชวนเพื่อน ๆ มาตรวจสอบพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ทำในชีวิตประจำวันว่าส่งผลร้ายต่อกระดูกสันหลังอยู่หรือไม่ หากไม่อยากทำลาย โรคกระดูกสันหลัง ควรเลิกทำ 4 พฤติกรรมนี้ก่อนจะสายเกินไป อิริยาบถหรือท่าไม่ถูกต้อง ในหนึ่งวันเราต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเราไม่สามารถโฟกัสในทุกจังหวะได้ว่าเราได้ทำอริยาบถที่ถูกต้องหรือไม่…

โรคซึมเศร้า

เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าคุณอาจเป็น โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เพราะทุกคนมีความเปราะบางที่ซ่อนไว้ในส่วนลึกของจิตใจ ที่อาจถูกสะสมมาจากเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหากับทางบ้าน ปัญหากับคู่รัก ปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาทางด้านการเงิน หรือปัญหาในการเรียนเองก็ตาม ซึ่งเรื่องเหล่านี้เมื่อถูกทับถมจนกองพะเนินในจิตใจมากเข้าเรื่อย ๆ จะฝังรากลึกและค่อยกัดกินตัวตนต่าง ๆ ของเราจนกลายพันธ์เป็นโรคซึมเศร้า ในที่สุด อาจด้วยความเร่งรีบในวิถีชีวิตประจำวัน ความกดดันที่เราต้องเผชิญมากขึ้น หรือแม้แต่สิ่งที่เรามักเปรียบเทียบกับคนอื่นในโซเชียลมีเดีย ส่งผลปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มจะพบได้ในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ เช่นกัน วันนี้เราจึงอยากลองชวนเพื่อน…

เส้นเลือดฝอยในตาแตก

อันตรายแค่ไหนถ้า เส้นเลือดฝอยในตาแตก ดวงตา คือ อวัยวะที่มีความสำคัญ

            เส้นเลือดฝอยในตาแตก ดวงตา คือ อวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หากดวงตาของเราได้รับอันตราย หรือไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราก็จะแย่ลง เพราะดวงตา เปรียบเสมือนอวัยวะหลัก ๆ ที่สำคัญของร่างกาย เส้นเลือดฝอยในตาแตก อันตรายต่อดวงตาของเรามากน้อยแค่ไหน             ความผิดปกติที่มักพบกับดวงตาของเรา คือ เส้นเลือดฝอยในตาแตก ลักษณะดวงตาของเราบริเวณตาขาวจะสีแดง แต่ดวงตาของเรายังคงใช้งานได้ปกติ บางคนอาจเกิดการระคายเคืองบริเวณดวงตา หลายคนจึงเกิดความสงสัยว่าเส้นเลือดฝอยที่แตกในตานั้นมีอันตรายต่อดวงตาของเรามากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจะพาทุกท่านไปพบกับความจริงเกี่ยวกับเส้นเลือดฝอยในตาแตก             สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดฝอยในตาแตก…

หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่เต็มปอด

หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่เต็มปอด อาการน่าเป็นห่วงควรรีบไปพบแพทย์

หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่เต็มปอด (Shortness of Breath) มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก เช่น ฝุ่น มลพิษ สถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก อากาศที่ร้อน อยู่บนความสูง หรือเกิดจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่มีความเหนื่อย ความเครียด ความวิตกกังวลต่าง ๆ การออกกำลังกายที่หนัก เดินขึ้นลงบันไดในระยะไกล ก็อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจไม่เต็มปอดขึ้นมาได้ สาเหตุของอาการ หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่เต็มปอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง…

Social Distancing

Social Distancing การเว้นระยะห่างทางสังคม อย่างไรให้ห่างไกลจาก COVID-19

            Social Distancing ความหมายดีดีที่เป็นตัวช่วยหนึ่งของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งก่อนหน้านี้เราต่างได้ยินคำ ๆ กันบ่อย และถูกเชิญชวนให้ปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัด เพื่อร่วมมือร่วมใจในการฝ่าฟัน COVID-19 ไปให้ได้ เหมือนในวันนี้เรายังคงต้องใช้มาตรการSocial Distancingอยู่เหมือนเดิม เพราะ การระบาดของโรคยังไม่จบลง หมายความว่าเราทุกคนยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อCOVID-19 ได้อยู่ตลอดเวลา หากเราไม่ดูแลซึ่งกันและกัน Social Distancing การลดการสัมผัสต่อการออกไปพบเจอกับผู้คนจำนวนมาก             สำหรับ Social…

โรคกลัวสังคม

โรคกลัวสังคม (Social Phobia) มีอยู่จริง จากสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่ไม่อยากอยู่กับคนหมู่มาก

          โรคกลัวสังคม (Social Phobia) โรคนี้มีสาเหตุของการเกิดมาจากสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่ไม่อยากอยู่กับคนหมู่มาก ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใคร อยากอยู่เงียบ ๆ คนเดียวโดยที่ไม่มีเพื่อน ไม่มีสังคม เพราะเกิดจากความกลัว โรคกลัวสังคมเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความคิด หรือจิตใจของตัวผู้ป่วยเองที่อาจคิดว่าการเข้าสังคม คือ เรื่องที่น่ากลัว จึงทำให้เกิดความกังวัลเกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อที่จะให้ตัวเองอยู่ในสังคนนั้นได้ กลัวเพื่อน หรือกลัวสังคมนั้น ๆ จะไม่ยอมรับ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวสังคมอาจมีความคิดดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานานจึงทำให้กลัวการเข้าสังคม     โรคกลัวสังคม เป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งสังคมที่เรารับรู้กันนั้น เริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก…