โรคความดันโลหิตสูง

          โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคนที่มองข้ามการดูแลตัวเอง โรคความดันโลหิตสูงไม่ใช่โรคทางพันธุกรรม หรือโรคติดต่อแต่อย่างใด แต่โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่มักเกิดจากผู้ที่มีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารที่มีรสจัด ชอบทานอาหารรสเค็ม ไม่ออกกำลัง สูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ ดื่มแอลกอฮอล์อยู่เป็นประจำ  มีภาวะเครียดสะสมเป็นเวลานาน หรืออาจมีโรคประจำตัวที่ส่งผลให้ร่างกายมีความดันโลหิตที่สูงขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด มีภาวะไตวาย เป็นต้น

 โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ถือว่าเป็นฆาตกรเงียบ ที่ไม่ควรมองข้าม

โดยร่างกายถูกทำลายระบบต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อย หรือผู้ป่วยบางคนทราบว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่ละเลยไม่ใส่ใจที่จะดูแลตัวเอง เพราะคิดว่าเป็นแค่โรคความดันโลหิตสูง ไม่ได้ป่วยด้วยโรคร้าย คงไม่เป็นอะไรมาก

            ความคิดดังกล่าว จึงเป็นความคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก เพราะการที่เรารู้ตัวเร็วว่าเป็นความโรคความดันโลหิตสูง การรักษาจะยิ่งง่าย และอัตราการหายจากโรคจะเร็วขึ้น เพราะ โรคความดันโลหิตสูง(Hypertension)คือ การที่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ (ค่าปกติของความดันโลหิต คือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท) คือ ระดับความดันโลหิตที่มีค่ามากกว่า 140/80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

 อาการโรคความดันโลหิตสูง

            โรคความดันโลหิตสูง(Hypertension)อันตรายแค่ไหน ???

            เมื่อร่างกายของเรามีระดับความดันโลหิตที่สูงมากกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มีระดับความดันโลหิตที่มีค่ามากกว่า 140/80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป อยู่เป็นเวลานาน โดยจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก เริ่มจากการเพิ่มโอกาสให้ร่างกายเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น

  • อัมพาต
  • โรคหัวใจ
  • เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
  • โรคไตวาย
  • โรคหลอดเลือดในสมองตีบ
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

เราจึงควรที่จะเริ่มสังเกตตัวเองว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตมากน้อยแค่ไหน โดยเริ่มจากการสังเกตอาการ ดังต่อไปนี้

  • แรกเริ่มของโรคความดันโลหิตสูง มักจะไม่แสดงอาการให้เราเห็นแต่อย่างใด แต่อาจมีอาการที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ เช่น
  • มีอาการปวดศีรษะ มึนงง
  • ปวดบริเวณท้ายทอย โดยมักจะปวดในช่วงเช้า
  • มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ เนื่องจากการที่หัวใจทำงานหนักกว่าปกติ
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ และตามัวร่วมด้วย
  • ผู้ป่วยบางรายบางรายอาจเกิดเลือดกำเดาไหล

ดังนั้น เมื่อทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง(Hypertension) จึงควรหันมาใสใจในการดูแลสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้นด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ข่าวสารสุขภาพที่น่าสนใจความดันโลหิตสูง ข้อควรปฏิบัติของผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง

Related Posts