พฤติกรรมกินแล้วนอน

คนที่มี พฤติกรรมกินแล้วนอน คงเคยได้ยินคำบ่นจากคุณแม่ว่า ‘อย่าเพิ่งนอนสิ!! กินเพิ่งเสร็จแท้ ๆ จะรีบนอนไปไหน!?’ อยู่บ่อยๆ เพราะกระบวนการย่อยของเราเริ่มต้นตั้งแต่อาหารเข้าปากซึ่งเป็นการย่อยคาร์โบไฮเดรตโดยน้ำลาย เมื่อกลืนเข้าไปโปรตีนก็จะถูกย่อยที่กระเพาะอาหาร จากนั้นอาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนจะถูกส่งไปยังลำไส้เล็ก เพื่อย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ยังไม่ถูกย่อยดี โปรตีน และไขมันต่อไป จนท้ายที่สุดเราจะได้กากอาหารที่รอกำจัดไปเก็บไว้ในที่ลำไส้ใหญ่

พฤติกรรมกินแล้วนอน

4 พฤติกรรมกินแล้วนอน ส่งผลให้เกิดอันตรายมากกว่าที่เราคิด

กระบวนการเหล่านี้จะใช้เวลาอยู่ประมาณ 2-4 ชั่วโมง และระบบย่อยอาหารจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดในท่านั่งหรือยืน เพราะอวัยวะทุกส่วนในระบบตั้งตรงตามร่างกายอย่างที่ควรเป็น แต่เมื่อใดก็ตามที่เรากินแล้วนอนเลยหลังจากกินอาหารเสร็จ อวัยวะต่าง ๆ จะอยู่ในแนวราบแทน ส่งผลให้เกิดอันตรายมากกว่าที่เราคิด วันนี้เราจึงอยากมาเตือนว่ามีอันตรายอะไรบ้าง ที่จะเกิดเมื่อเรากินแล้วนอนเลย

พฤติกรรมกินแล้วนอน-ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

อาหารไม่ย่อย ท้องอืด

อย่างที่ได้รู้ว่าระบบย่อยอาหารจะทำงานเต็มประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในแนวตั้งตรงกับร่างกาย แต่พฤติกรรมกินแล้วนอนจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะอาหารแต่ละประเภทจะใช้เวลาย่อยไม่เท่ากัน เมื่อมีอาหารตกค้างจากการที่เรานอนลงจะทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ทำให้เราไม่สบายตัวได้

กรดไหลย้อน

เมื่อเรากินอาหารเสร็จ ร่างกายก็จะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยอาหาร แต่หากเรากินแล้วนอนเลย น้ำย่อยที่ควรรอเพื่อย่อยอาหาร จะไหลย้อนกลับไปจนถึงบริเวณหลอดอาหารเนื่องจากอวัยวะของเราอยู่ในแนวราบ และเนื่องจากน้ำย่อยมีฤทธิ์เป็นกรดจึงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณลำคอ แสบร้อนกลางอก ขมในลำคอ และเรอเหม็นเปรี้ยวได้

พฤติกรรมกินแล้วนอน-อาหารไม่ย่อย ท้องอืด

นอนไม่หลับ

สืบเนื่องมาจากอาการกรดไหลย้อน เมื่อเรารู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน แสบร้อนกลางอก และระคายเคืองในละคอ ย่อมส่งผลให้เรารู้สึกไม่สบายตัว ทำให้เราไม่สามารถหลับอย่างสบายได้ มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นหากอยากนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลับลึกและตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น ก็ควรเลี่ยงพฤติกรรมกินแล้วนอนโดยทันที

เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

อาจตกใจว่าแค่กินแล้วนอนมีสิทธิ์เสี่ยงทำให้เป็นโรคหลอดเลือดในสมองได้เชียวหรือ ? ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ากระบวนการย่อยอาหารมีผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอล เมื่อระบบย่อยอาหารในร่างกายทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้การดูดซึมอาหารมีปัญหา จะส่งผลถึงระบบไหลเวียนโลหิตจนเกิดเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้

สามารถกดติดตาม การดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรค  รวมเด็ด ผลไม้แก้อาการท้องผูกได้อยู่หมัด ปัญหาที่มักจะกวนใจใครหลาย ๆ คน

นอกจากจะมีการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงให้ห่างไกลโรคยังมีอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถทำให้เราผ่อนคลายได้แบบสบาย ๆ ด้วย   ufa vip  ในยามว่าง

Related Posts