ออฟฟิศซินโดรม

โดยเฉลี่ยคนส่วนใหญ่นั่งทำงานติดต่อกันประมาณ 7-8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นในวันที่มีงานเร่งรีบและต้องอยู่ทำโอที ! ออฟฟิศซินโดรม จึงกลายเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตของเหล่าชาวออฟฟิศ แต่ก็ใช่ว่ามีเพียงกลุ่มออฟฟิศเท่านั้นที่มีปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม เพราะหากคุณต้องงานที่ต้องอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับเขยื้อน หรือเคลื่อนไหวร่างกายเช่น ขับรถในระยะทางไกลบ่อย ๆ ก็สามารถมีโอกาสเป็นได้เช่นกัน

ออฟฟิศซินโดรม1

อาการของโรค ออฟฟิศซินโดรม มักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มที่ทำงานเป็นเวลานาน ๆ

ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการความเจ็บปวดที่ก่อให้เกิดความลำบาก และความรำคาญแก่ผู้ที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาการปวดที่แค่ขยับตัวเพียงนิดหน่อยก็แทบร้องโอยออกมา อีกทั้งยังทำให้เสียบุคลิกอีกด้วย และโรคนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 60 และนี่คือ 4 พฤติกรรมควรเลี่ยง หากอยากไกลออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม กดแป้น คลิกเมาส์ต่อเนื่อง 2

กดแป้น คลิกเมาส์ต่อเนื่อง

ปัญหานี้มักเกิดกับคนที่มีหน้าที่ประสานงาน แชทที่มาจากทุกฝ่ายทุกแผนก และรายการอีกหลายร้อยที่รอการคลิกเมาส์ ซึ่งจะต้องเกร็งนิ้วและข้อมือตลอดเวลาโดยไม่ได้พัก จนเริ่มมีอาการเจ็บและชาตามฝ่ามือ อีกทั้งยังเริ่มเหยียดนิ้วตรง ๆ ไม่ได้ นั่นเป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นที่ร่างกายกำลังบอกว่าเส้นและปลอกหุ้มเอ็นที่นิ้วกำลังอักเสบ และมีโอกาสเกิดปัญหานิ้วล็อกตามมา ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม -ไขว่ห้าง หลังค่อม ห่อไหล่ หน้าจอคอม

ไขว่ห้าง หลังค่อม ห่อไหล่ หน้าจอคอม

เมื่อทำงานหน้าจอคอมท่านั่งที่คิดว่าสบายคงหนีไม่พ้นการไขว่ห้าง หลังค่อม และห่อไหล่ โดยเฉพาะเวลางานเร่งรีบที่เราไม่มีเวลามาโฟกัสถึงท่านั่ง จนทำให้ร่างกายต้องเกร็งไกล่ตลอด บวกกับการทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนท่าหรือพักกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเสี่ยงทำให้ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจนลุกลามเป็นออฟฟิศซินโดรมได้

ออฟฟิศซินโดรม-จ้องนาน

จ้องนาน วางไม่ได้ เครียดเกินไป

 หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรมคือการวางงานลงไม่ได้ จดจ่อเคร่งเครียดอยู่กับงานตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ตอนพักเที่ยงที่ยังเช็กงานผ่านมือถืออยู่เสมอ ซึ่งการทำแบบนี้เป็นการใช้สายตาตลอดเวลา ทำให้สายตาล้าจนโฟกัสไม่ได้ แถมปวดล้ากระบอกตาจนอาจลุกลามทำให้เกิดเป็นไมเกรน นอกจากออฟฟิศซินโดรมแล้วหากมีพฤติกรรมแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ยังเสี่ยงเป็น Computer Vision Syndrome อีกด้วย

ออฟฟิศซินโดรม-กินอาหารไม่ตรงเวลา

กินอาหารไม่ตรงเวลา

ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบและเคร่งเครียดอยู่กับการงานตลอดเวลา ส่งผลให้ชาวออฟฟิศส่วนใหญ่มักละเลยเรื่องของอาหารการกิน ทั้งอดอาหาร กินไม่เป็นเวลา กินจุกจิก หรือแม้กระทั่งกินแล้วนอนเลย แม้พฤติกรรมเหล่านี้นาน ๆ ทีทำอาจไม่เป็นไรแต่เมื่อทำเป็นระยะเวลานาน ร่างกายจะค่อย ๆ สะสมจนทำให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง และแสบร้อนกลางอกขึ้นมาได้ ซึ่งส่งผลต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนบ่า ไหล่ และลำคอ

สามารถกดติดตาม การดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรค 4 พฤติกรรมทำร้าย โรคกระดูกสันหลัง โดยที่เราไม่รู้ตัวถึงแม้จะยังไม่แสดงอาการ

นอกจากจะมีการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงให้ห่างไกลโรคยังมีอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถทำให้เราผ่อนคลายได้แบบสบาย ๆ ด้วย   สล็อต เกมส์ ไหนดี ในยามว่าง

Related Posts