ดูแลและรักษากลิ่นกาย

                ดูแลและรักษากลิ่นกาย เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ และไม่ต้องการของคนทั่วไป ดังนั้นเรามาเริ่มป้องกัน ดูแลและรักษากลิ่นกายกันตั้งแต่ตอนนี้เลยดีกว่า โดยเริ่มต้นง่ายๆ ได้ดังนี้

ดูแลและรักษากลิ่นกาย

6 วิธีช่วยให้การ ดูแลและรักษากลิ่นกาย ให้ดีขึ้น มีดังนี้

                1.เราควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้าหลังตื่นนอน และช่วงก่อนนอน (ยิ่งช่วงสถาการณ์โควิดเช่นนี้ด้วยแล้วเราควรอาบน้ำในทุกๆ ครั้งหลังจากที่กลับเข้าบ้าน) หลายๆ ท่านอาจคิดว่าเรานอนมาทั้งคืนสิ่งสกปรกใดๆ ก็ไม่ได้พบเจอ ยิ่งบางท่านด้วยแล้วนอนในห้องแอร์ก็ยิ่งทำให้ไม่มีเหงื่อ ได้มีการทดลองนำชุดนอนที่ผ่านการใช้ โดยผู้สวมใส่นอนพักในห้องแอร์ก็พบว่าเมื่อนำชุดนอนดังกล่าวไปซัก พบคราบไขปรากฎออกมาในน้ำที่ใช้ซักชุดนอน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการอาบน้ำในช่วงเช้าหลังตื่นนอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ

ดูแลและรักษากลิ่นกาย

                2.ถัดมาคือการเลือกรับประทานอาหาร เพราะอาหารบางชนิด เช่น กระเทียม หรือ ผักชี จะทำให้เกิดกลิ่นกายได้ หากเราสามารถหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ได้ก็ย่อมช่วยลดปัจจัยหนึ่งที่เป็นสาเหตุของกลิ่นกายได้เช่นกัน

                3.การหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่ทำให้เกิดความร้อน เพราะเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะที่ร้อน ธรรมชาติของร่างกายก็จะทำการระบายความร้อนขับออกมาในรูปของเหงื่อ ซึ่งเหงื่อก็ทำให้เกิดการเปียกชื้นและกลิ่นกายได้

                4.หากเราเป็นคนที่มีเหงื่อออกมาก เราสามารถใช้กระดาษซับเหงื่อระหว่างวัน เพื่อลดปริมาณเหงื่อได้

ดูแลและรักษากลิ่นกาย

                5.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วถึงคราบเหลืองที่เกิดบริเวณเสื้อผ้าเมื่อเราใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ดังนั้นเราควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตนเอง

                6.เลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับตัวเรา เช่น หากเราเป็นคนที่ค่อนข้างเร่งรีบก็ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปแบบสเปร์ยเพราะผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เมื่อใช้แล้วจะค่อนข้างแห้งเร็วที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ

                วิธีที่กล่าวมาทั้ง 6 ล้วนเป็นวิธีที่เราสามารถเริ่มต้นทำได้ตั้งแต่วันนี้ด้วยตัวของเราเอง เพื่อช่วยขจัดปัญหากลิ่นกายไม่ให้ย่างกายมาสู่เราได้

ติดตามเว็บไซต์อาหารเพื่อสุขภาพและการป้องกันโรค

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ การดูแลผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพจิต

Related Posts